Page Header

การเพิ่มผลิตภาพสำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม
Enhancing Productivity of Small and Medium-Sized Enterprises (SMEs)

Thongpunchang Pongvarin

Abstract


การเปลี่ยนแปลงของสภาพการดำเนินธุรกิจ และอุตสาหกรรม ได้แก่ สภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สภาพแวดล้อม และเทคโนโลยี ส่งผลทำให้ภาคอุตสาหกรรมต้องมีการปรับตัว สำหรับอุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดย่อม หรือ SMEs ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญที่สนับสนุนอุตสาหกรรมหลักของประเทศ เพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้น องค์กรต้องมีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด การเพิ่มผลิตภาพการผลิตเป็นวิธีทางหนึ่งที่จะช่วยขับเคลื่อนให้องค์กรอยู่รอด แนวทางในการสร้างการเพิ่มผลิตภาพให้เกิด ผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ผู้บริหารควรเลือกแนวทางการปฏิบัติ และเครื่องมือในการดำเนินกิจกรรมให้เหมาะสมกับปัจจัย และความพร้อมขององค์กร โดยมีการประเมิน การวัดการเพิ่มผลิตภาพ การวางแผนผลิตภาพ และการพัฒนาผลิตภาพ ผลลัพธ์ที่ได้จากการเพิ่มผลิตภาพคือ การลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการทำงาน และสร้างกำไร และการเติบโตอย่างยั่งยืน

Due to changes in business and industry operations from socio-economic, political, environmental and technology influences, industry sectors and those struggling will have to adapt to survive. SMEs mark an important part of the nation owing to their support of the main industries. To mitigate negative economic impact on SMEs, adaptation to the changes around them is imperative for businesses that wish to survive and grow. To improve productivity to established goals, the management team needs to implement a practical approach, appropriate tools and techniques tailored to organizational readiness and situational contexts. It is recommended that these steps be carried out: assessment of factors enhancing productivity and strategic planning to increase productivity. The advantages gained by organizations by these activities constitute cost reduction, increased performance efficiency, as well as achieving high profits and sustainability over time.


Keywords



[1] คมน์ พันธรักษ์. (2563). ผลการสำรวจ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). Thammasat Business School. https://www.tbs.tu.ac.th/wp-content/uploads/2020/04/TBS-Insights.pdf

[2] ธนาคารโลก. (2563, 20 มิถุนายน). รายงาน : ผลกระทบที่สำคัญของโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจไทย ความเปราะบางของครัวเรือน และผู้ประกอบการ. worldbank. https://www.worldbank.org/th/news/press-release/2020/06/30/major-impact-from-covid-19-to-thailands-economy-vulnerable-households-firms-report

[3] วิฑูรย์ สิมะโชคดี. (2555). การเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนของ SMEs (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

[4] จำลักษณ์ ขุนพลแก้ว และคณะ. (2544). หลักการเพิ่มผลผลิต. กรุงเทพมหานคร : สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.

[5] Sumanth, David J. (1998). Total Productivity Management. Florida : St.Luice Press.

[6] ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์ สักรินทร์ อยู่ผ่อง และคณิต เฉลยจรรยา (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการในสายการผลิตสำหรับหัวหน้างาน เพื่อการเพิ่มผลผลิตในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 12(1), 82-90.

[7] สักรินทร์ อยู่ผ่อง อัคครัตน์ พูลกระจ่าง และปราโมช ธรรมกรณ์. (2561). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเพิ่มผลผลิตสำหรับอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์. วารสารการจัดการสมัยใหม่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 16(1), 25-36.

Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.bid.2021.03.024

Refbacks

  • There are currently no refbacks.