Page Header

แนวทางการพัฒนาธุรกิจเส้นหมี่โคราชของผู้ประกอบการในอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
Business Development Approach for Mee Korat Business Entrepreneurs in Pak Thong Chai, Nakhon Ratchasima Province

Rungnapha Sonpanao, Chayapat Kee-ariyo

Abstract


การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจสภาพการดำเนินธุรกิจเส้นหมี่โคราช 2) ศึกษาระดับปัญหาในการดำเนินธุรกิจเส้นหมี่โคราช 3) เปรียบเทียบระดับปัญหากับสภาพการดำเนินธุรกิจเส้นหมี่โคราช และ 4) ศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการดำเนินธุรกิจเส้นหมี่โคราชของผู้ประกอบการในอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ประชากร คือ ผู้ประกอบการธุรกิจเส้นหมี่โคราชในอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และวิเคราะห์เชิงเนื้อหาข้อมูลที่เป็นข้อเสนอแนะ ผลการวิจัย 1) สภาพการดำเนินธุรกิจเส้นหมี่โคราชส่วนใหญ่ พบว่า ดำเนินธุรกิจมาแล้วเป็นเวลา 11-15 ปี มีพนักงานประมาณ 11-30 คน ช่องทางการตลาดของธุรกิจ คือ ช่องทางออนไลน์ มีปริมาณการผลิตไม่เกิน 10,000 ห่อต่อเดือน และ มีรายได้จากการจำหน่ายไม่เกิน 100,000 บาทต่อเดือน 2) ระดับปัญหาในการดำเนินธุรกิจโดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านวัตถุดิบ ด้านการขาย ด้านการเงิน ด้านพนักงาน และ ด้านการบริหารจัดการ 3) การเปรียบเทียบระดับปัญหาในการดำเนินธุรกิจ จำแนกตามสภาพการดำเนินธุรกิจ พบว่า ระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจ และจำนวนพนักงานที่แตกต่างกัน มีระดับปัญหาในการดำเนินธุรกิจแตกต่างกัน ยกเว้นช่องทางการตลาดของธุรกิจ ปริมาณการผลิตต่อเดือน และรายได้จากการจำหน่ายต่อเดือนที่มีระดับปัญหาในการดำเนินธุรกิจไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และ 4) แนวทางการพัฒนาการดำเนินธุรกิจเส้นหมี่โคราช คือ 1. ควรพัฒนาผลิตภัณฑ์เส้นหมี่ให้มีอายุการเก็บรักษายาวนานและมีรสชาติที่หลากหลาย 2. ควรหาช่องทางการจัดจำหน่ายเพิ่ม 3. ควรหาแหล่งเงินกู้ที่ให้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อส่งเสริมการแข่งขัน 4. ควรมีการจ้างงานหมุนเวียนในกลุ่มสมาชิกเพื่อเพิ่มกำลังการผลิต 5. ควรให้โอกาสคนรุ่นใหม่ซึ่งมีวิสัยทัศน์กว้างไกลได้เข้ามาบริหารงานเพื่อให้ธุรกิจเติบโตและแข่งขันได้

The objectives of this research were to: 1) investigate the situations of the business, 2) explore the problems of the business, 3) compare the problems levels to the situation of business, and 4) study the suggestions for the development of Mee Korat business. The participants were Mee Korat business entrepreneurs in Pak Thong Chai District using using questionnaires for data collection. The statistics used for data analysis comprised frequency, percentage, mean, standard deviation, one-way ANOVA, and content analysis for suggested data. The results indicated that 1) The most situations of the business were: founding of business for 11-15 years, having approximately 11-30 employees, using online channels for marketing, producing volume not more than 10,000 packs per month, and sales revenue not over 100,000 baht per month. 2) The problems encountered the business were at a very high level, arranged from high to low as follows: raw materials, sales, finance, employees, and management. 3) In comparison, the study showed that the differences in business situations in founding of business and number of employees had no differences to the business problem levels, except in marketing channels, production volume, and monthly sales revenue that showed the differences of the problem levels, at the significant level of 0.05. 4) The suggestions for the development of the business stated that the entrepreneurs should do as follows: 1. Improve the product life cycle and a variety of favors. 2. Seek more marketing channels for distribution. 3. Look for low–rate interest loans to enhance business competition. 4. Rearrange alternative recruitment among members to increase productivity. 5. Provide an opportunity to younger generations with wide visions to manage the business to gain constantly growth and strengthen the competition.


Keywords



[1] สำนักส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2556). แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. https://www.sme.go.th

[2] ธีระพันธ์ จิตกาวิน. (2562). การวิเคราะห์การดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หมวดธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่มในจังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

[3] กิตติ กอบัวแก้ว. (2553). การบริหารการผลิต (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

[4] พุฒิยา เพชงคง. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการดำเนินงานกับค่าใช้จ่ายของธุรกิจการผลิตในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

[5] มีแสน แก่นชูวงค์ และชลภัสส์ วงษ์ประเสริฐ. (2562). การศึกษาการดำเนินธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่สร้างคุณค่าเพิ่ม. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

[6] ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2555). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์เน้นสำหรับงานวิจัย. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[7] อังสนา ประสี. (2555). ปัญหาการดำเนินงานและความต้องการสนับสนุนของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดนครสวรรค์. คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

[8] ปรียากมล เอื้องอ้าย. (2560). ปัจจัยในการคัดเลือกผู้จัดหาวัตถุดิบของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

[9] ธนินท์รัฐ รัตนพงศ์ภิญโญ. (2561). กลยุทธ์การพัฒนาเพื่อความอยู่รอดและเติบโตของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในเขตจังหวัดเพชรบุรี. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

[10] นันท์นภัส คะชะนา. (2559). กลยุทธ์ในการดำเนินงานของผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจวิสาหกิขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

[11] จุฑาพร รัตนโชคกุล. (2561). เส้นทางสู่ความสำเร็จของการเป็นผู้ประกอบการดิจิทัลที่ขายสินค้าออนไลน์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

[12] สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เครือข่ายมหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2554). ปัญหาของวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม. http://www.sara-dd.com

Full Text: PDF

DOI: 10.14416/j.bid.2021.07.012

Refbacks

  • There are currently no refbacks.