การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยบทเรียนมัลติมีเดียร่วมกับทักษะปฏิบัติ ด้านการออกแบบกราฟิกบนสื่อดิจิทัล สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานและหาคุณภาพของบทเรียนมัลติมีเดียร่วมกับทักษะปฏิบัติ ด้านการออกแบบกราฟิกบนสื่อดิจิทัล สำหรับนิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียน ด้านการออกแบบบนสื่อดิจิทัล 3) ประเมินทักษะปฏิบัติ ด้านการออกแบบกราฟิกบนสื่อดิจิทัล สำหรับนิสิต ปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 4) ศึกษาความพึงพอใจของ นิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่มีต่อการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยบทเรียนมัลติมีเดียร่วมกับทักษะปฏิบัติ ด้านการออกแบบกราฟิกบนสื่อดิจิทัล กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตระดับปริญญาตรี ที่ลงทะเบียนในรายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยบทเรียนมัลติมีเดียร่วมกับทักษะปฏิบัติ 2) แบบประเมินคุณภาพ บทเรียนมัลติมีเดีย 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยบทเรียนมัลติมีเดีย ร่วมกับทักษะปฏิบัติ 4) แบบประเมินทักษะปฏิบัติ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ ต่อกิจกรรมเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยบทเรียนมัลติมีเดียร่วมกับทักษะปฏิบัติ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test
ผลการวิจัย พบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยบทเรียนมัลติมีเดีย ร่วมกับทักษะปฏิบัติ ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก (= 4.54 ) และคุณภาพของบทเรียนมัลติมีเดีย อยู่ในระดับดีมาก (= 4.70) 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่าหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการประเมินทักษะปฏิบัติ ที่ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยบทเรียนมัลติมีเดียร่วมกับทักษะปฏิบัติ อยู่ในระดับดีมาก (= 4.55) และ 4) ผลความพึงพอใจ ในภาพรวมที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยบทเรียนมัลติมีเดียร่วมกับทักษะปฏิบัติ อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.66)
[1] สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษาสำนักงาน
คณะกรรมการการอุดมศึกษากระทรวงศึกษาธิการ.
(2561). แผนปฏิบัติการ. กรุงเทพมหานคร.
[2] พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา.
(2546). ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ.
2556. กรุงเทพมหานคร
[3] สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560).
แผนการศึกษาแห่งชาติ 2. พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม
2550. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟิก
จำกัด.
[4] วรพจน์ วงค์กิจรุ่งเรือง. (2554). ทักษะแห่งอนาคต
ใหม่.การศึกษาเพื่อศตวรรตที่21.
กรุงเทพมหานคร: โอเพ่นเวิลต์ส.
[5] ภาสกร เรืองรอง. (2557). เทคโนโลยีการศึกษากับครู
ไทยในศตวรรษที่ 21. วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 5
ฉบับพิเศษ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.
[6] ปรัชญนันท์ นิลสุข. (2558). The 21st Century
teacher (ครูอาชีวะแห่งศตวรรษที่ 21).
กรุงเทพมหานคร: ฐานการพิมพ์.
[7] ประพรรธน์ พละชีวะ. (2550). การนําเสนอรูปแบบ
การสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้ร่วมกัน
ในโครงงานวิทยาศาสตร์สําหรับการฝึกแก้ปัญหา
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.
วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
โสตทัศนศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[8] Johnson, K.. McHugo, C. and Hall. T.
Analysing the efficacy of blended learning
using Technology Enhanced Learning
(TEL)and m-Learning delivery technologies
(Online)http://wwwascilite.org.au/conferences
/ sydney06/procceding/pdf papers/p?3.pdf. 3 July 2018.
[9] ภคชาติ พุทธิปกรณ์. (2550). “การพัฒนาบทเรียน
คอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง การออกแบบกราฟิก
สำหรับนักเรียน ช่วงชั้นที่ 4.” สารนิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ
[10] ธวัชชัย ก้านศรีรัตน์. (2559). การสร้างไอเดีย
สำหรับการออกแบบกราฟิก. นวัตกรรมการเรียนรู้
ทางเทคโนโลยี. สาขาวิชาการพัฒนารูปแบบการฝึกอบรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
[11] ภัทรา วยาจุต. (2550). ผลการเรียนแบบผสมผสาน
และแบบใช้เว็บช่วย ที่มีผลต่อการทางการ
เรียนของนิสิตระดับปริญญาบัญฑิตจุฬาลงกรณ์
มหาวิยาลัย ที่มีบุคลิกต่างกัน สาขาวิชาโสตทัศนศึกษา. ภาควิชาหลักสูตรการสอนเทคโนโลยีการศึกษา. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[12] วราภรณ์ สินถาวร, (2553). การพัฒนารูปแบบการ
เรียนแบบผสมผสานแบบร่วมมือโดยใช้แหล่งข้อมูล
เป็นหลังในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการรู้สารสนเทศ
และทักษะการเรียนรู้เป็นทีมของนักศึกษาครูระดับ
ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฎ. สาขาวิชา
เทคโนโลยีสื่อสารการศึกษาภาควิชา,หลักสูตรการสอน
และเทคโนโลยีการศึกษาคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
[13] Fitz - Gibbon and Carol, T. (1987). How to
Design a Program Evaluation. Newbury
Park: Sage.
[14] ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2553).
เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 11
กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
[15] Simpson, D. (1972). Teaching Physical
Educations: A System Approach. Boston:
Houghton Mufflin Co.
[16] Gagnè, R.M. (1985). The conditions of
Learning and the theory of instruction. New York: Holt, Rinehart, and Winston
[17] ปณิตา วรรณพิรุณ. (2554). “การพัฒนารูปแบบ
การเรียนแบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือทางปัญญา
เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ.”
วารสารวิทยบริการ. ภาควิชาครุสตร์เทคโนโลยีคณะ
ครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระ
จอมเกล้าพระนครเหนือ
[18] ทิศนา แขมณี. (2557). รูปแบบการเรียนการ
ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพมหานคร:
จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
[19] ศิริลักษณ์ ช่างเรื่องกุล. (2556). การสร้างบทเรียน
คอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง คุณลักษณะอันพึง
ประสงค์ 10 ประการ สําหรับโรงเรียนจารุวัฒนานุ
กูล. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์ อุตสาหกรรม
มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการเรียนรู้และ
สื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
ธนบุรี.
[20] ณัฐกร สงคราม. (2553). การพัฒนารูปแบบการ
เรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลักด้วยเครื่องมือทางปัญญาแบบไฮเพอร์มีเดียเพื่อ เสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาของนิสิตนักศึกษาสาขาเกษตรศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิต วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[21] ฐิติพัฒน์ โกเมนพรรณกุล. (2554). การพัฒนา
กิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานวิชาปฏิบัติกีต้า 1
ที่มีต่อทักษะการปฏิบัติทางดรตรี สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากรRefbacks
- There are currently no refbacks.
วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา จัดพิมพ์ปีละ 2 ฉบับ ระหว่างเดือนมกราคม - มิถุนายน และเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม ทุกปี
ดำเนินการโดย
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีทางอาชีวศึกษา สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
สนับสนุนการดำเนินการโดย
สมาคมศิษย์เก่าครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
http://vetrc.stri.kmutnb.ac.th
ประเภทของบทความ
ขอบเขตการรับบทความลงพิมพ์ในสาขาอุตสาหกรรม พณิชยกรรม บริหารธุรกิจ เกษตรกรรมและประมง ศิลปหัตถกรรม คหกรรม
อุตสาหกรรมท่องเที่ยว เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทางการศึกษา อุตสาหกรรมศึกษา เทคโนโลยีอุตสาหกรรม
การจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยี
การเตรียมบทความ
ดาวน์โหลดตัวอย่างการเตรียมบทความได้ที่นี่ http://vetrc.stri.kmutnb.ac.th/2018/JVTE2561.docx
วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา (ISSN 2229-1806)
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีทางอาชีวศึกษา
สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ได้รับการจัดอยู่ในวารสารฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 2 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/Evaluation/NewJ/2561/News.html
ตามผลการพิจารณาคุณภาพวารสารที่ต้องการเข้าสู่ฐานข้อมูล TCI ประจำปี พ.ศ. 2561 (25 พ.ค.2561)
วารสารกลุ่มที่ 2 : วารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพของ TCI (จนถึง 31 ธันวาคม 2562) และอยู่ในฐานข้อมูล TCI