การพัฒนาแบบประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชนแบบมีส่วนร่วมตามความคิดเห็นของผู้แทนวิสาหกิจชุมชนจังหวัดสระแก้ว
Abstract
แบบประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชนแบบมีส่วนร่วม จำแนกตามปัจจัยพื้นฐาน ความรู้ การจัดทำแผนประกอบการวิสาหกิจชุมชน และการมีส่วนร่วมของผู้แทนวิสาหกิจชุมชน โดยรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่างผู้แทนวิสาหกิจชุมชนที่ผ่านการประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสระแก้ว จำนวน 205 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบด้วยวิธี t–test และ F–test และการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยรายคู่ LSD ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 48 ปี จำนวนรายได้เฉพาะภาคการเกษตรต่อปีประมาณ 150,000 บาท ระยะเวลาในการเป็นสมาชิกวิสาหกิจชุมชนประมาณ 5 ปี
ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตนอกเหนือจากการเป็นสมาชิกวิสาหกิจชุมชน ได้แบบประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชนแบบมีส่วนร่วมที่เหมาะสม จำนวน 3 หมวด 40 ข้อ กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ในระดับมาก โดยเฉพาะด้านแนวคิดเกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชน และเห็นด้วยกับแบบประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชนแบบมีส่วนร่วมในระดับมากในทุกด้าน ยกเว้น ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ อยู่ในระดับปานกลาง นอกจากนั้น ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อแบบประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชนแบบมีส่วนร่วม พบว่า ผู้แทนวิสาหกิจชุมชนที่มีความรู้ในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน การจัดทำแผนประกอบการ และการมีส่วนร่วมของผู้แทนวิสาหกิจชุมชนแตกต่างกัน จะมีความคิดเห็นต่อแบบประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชนแบบมีส่วนร่วมต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
Keywords
[1] กรมส่งเสริมการเกษตร. (2560) (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเกษตร ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) และแผนปฏิบัติงาน ระยะ 5 ปี พ.ศ. 2560 - 2564).
(12 กันยายน 2561). สืบค้นจากแหล่งข้อมูล: https://ssnet.doae.go.th/wp-content.
[2] กรมส่งเสริมการเกษตร. (2555). แบบประเมินศักยภาพ
วิสาหกิจชุมชน (ปรับปรุง ปี 2555).กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
[3] ประยงค์ รณรงค์. (2547). ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน
สาขาปราชญ์เกษตรผู้นำชุมชนและเครือข่าย.
(12 กันยายน 2561). สืบค้นจากแหล่งข้อมูล:
http://www2.moac.go.th.
[4] สุธิดา แจ้งประจักษ์ (2559) การจัดการวิสาหกิจชุมชน:
กรณีศึกษากลุ่มซอสพริกป้าพุ ตำบลบางพระ อำเภอศรี
ราชา จังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และ
สังคมศาสตร์, ปีที่ 24 ฉบับที่ 45 หน้า 43 – 63
[5] มัฑนา ไชยจิตต์ (2552) การมีส่วนร่วมของสมาชิกใน
การดําเนินงานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้า อําเภอชาติ
ตระการ จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
[6] อุสา สุทธิสาคร (2554) การเรียนรู้และการจัดการความรู้
ด้านวิสาหกิจชุมชนของชุมชนบ้านร่องก่อ ตำบลโพธิ์
ใหญ่ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี.
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา จัดพิมพ์ปีละ 2 ฉบับ ระหว่างเดือนมกราคม - มิถุนายน และเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม ทุกปี
ดำเนินการโดย
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีทางอาชีวศึกษา สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
สนับสนุนการดำเนินการโดย
สมาคมศิษย์เก่าครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
http://vetrc.stri.kmutnb.ac.th
ประเภทของบทความ
ขอบเขตการรับบทความลงพิมพ์ในสาขาอุตสาหกรรม พณิชยกรรม บริหารธุรกิจ เกษตรกรรมและประมง ศิลปหัตถกรรม คหกรรม
อุตสาหกรรมท่องเที่ยว เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทางการศึกษา อุตสาหกรรมศึกษา เทคโนโลยีอุตสาหกรรม
การจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยี
การเตรียมบทความ
ดาวน์โหลดตัวอย่างการเตรียมบทความได้ที่นี่ http://vetrc.stri.kmutnb.ac.th/2018/JVTE2561.docx
วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา (ISSN 2229-1806)
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีทางอาชีวศึกษา
สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ได้รับการจัดอยู่ในวารสารฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 2 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/Evaluation/NewJ/2561/News.html
ตามผลการพิจารณาคุณภาพวารสารที่ต้องการเข้าสู่ฐานข้อมูล TCI ประจำปี พ.ศ. 2561 (25 พ.ค.2561)
วารสารกลุ่มที่ 2 : วารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพของ TCI (จนถึง 31 ธันวาคม 2562) และอยู่ในฐานข้อมูล TCI