ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีทางอาชีวศึกษา สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ร่วมกับสมาคมศิษย์เก่าคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

Page Header

การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานระบบบริหารลูกหนี้เงินยืม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ An Efficiency Improvement in Loan Management System at King Mongkut's University of Technology North Bangkok

สุธาสินี บุญประดิษฐ์, วิรภัทร อุดมศรี

Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดาเนินงานปัจจุบันและวิเคราะห์แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานระบบบริหารลูกหนี้เงินยืม โดยศึกษาจากผู้ใช้งานจานวน 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ใช้งานทั่วไป กลุ่มผู้ตรวจสอบระดับส่วนงาน และกลุ่มผู้ใช้งานระดับกองคลัง รวมจานวนทั้งสิ้น 280 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นที่มีต่อประสิทธิภาพ การใช้งานระบบบริหารลูกหนี้เงินยืม โดยสอบถามความรู้ ความเข้าใจตามระเบียบของมหาวิทยาลัยที่ส่งผลต่อการใช้ระบบบริหารลูกหนี้เงินยืม และความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการใช้งานระบบบริหารลูกหนี้เงินยืม วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
ผู้ใช้งานทั่วไป มีความรู้ความเข้าใจตามระเบียบของมหาวิทยาลัยที่ส่งผลต่อการใช้ระบบบริหารลูกหนี้เงินยืม อยู่ในระดับมาก โดยมีความรู้ความเข้าใจระดับปานกลาง ในหัวข้อการทวงถามเมื่อครบกาหนดการส่งคืนเงินยืม การขอขยายเวลาการส่งคืนเงินยืม หลักฐานการจ่ายในการส่งคืนเงินยืม และการกาหนดระยะเวลาการส่งคืนเงินยืม แต่ละประเภท
ผู้ตรวจสอบระดับส่วนงานมีความรู้ความเข้าใจตามระเบียบของมหาวิทยาลัยที่ส่งผลต่อการใช้ระบบบริหารลูกหนี้เงินยืมอยู่ในระดับมากด้วยเช่นกัน โดยมีความรู้ความเข้าใจมากที่สุด คือ ผู้ที่มีสิทธิยืมเงินทดรองจ่ายและเงินยืมทุนหมุนเวียน และมีระดับความรู้ความเข้าใจระดับปานกลาง ในหัวข้อหลักเกณฑ์การส่งคืนเงินยืมซึ่งกาหนดขั้นตอน ระยะเวลาและผู้รับผิดชอบในการส่งคืนเงินยืม การทวงถาม เมื่อครบกาหนดการส่งคืนเงินยืม หลักฐานการจ่ายในการส่งคืนเงินยืมและการขอขยายเวลาการส่งคืนเงินยืม
ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั่วไปที่มีต่อประสิทธิภาพการใช้งานระบบบริหารลูกหนี้เงินยืมอยู่ในระดับมากด้วยเช่นกันโดยแต่ละด้านที่มีความคิดเห็นระดับปานกลาง ได้แก่ การแก้ไขข้อมูลส่วนตัว การเพิ่มรายชื่อผู้ยืมในระบบ การเลือกแหล่งเงินทุนที่ต้องการยืม การเลือกรายการยืมในนามของหน่วยงาน และการระบุเหตุผล ที่ขอขยายวันครบกาหนด
ความคิดเห็นของผู้ตรวจสอบระดับส่วนงานที่มีต่อประสิทธิภาพการใช้งานระบบบริหารลูกหนี้เงินยืมแต่ละด้าน อยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีความคิดเห็นระดับปานกลาง ได้แก่ การกรอกจานวนวันครบกาหนดตามระเบียบ การระบุรายละเอียดตามรูปแบบบันทึกข้อความทวงเงินยืม และการคานวณดอกเบี้ยกรณีส่งคืนเงินยืมล่าช้า
ความคิดเห็นของผู้ใช้งานระดับกองคลังมีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการใช้งานระบบบริหารลูกหนี้เงินยืมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน สามารถใช้งานระบบได้เป็นอย่างดี มีการประสานงานระหว่างผู้ใช้ระบบกับผู้ดูแลระบบอย่างรวดเร็วทาให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ


Keywords


<p>การเพิ่มประสิทธิภาพ, การใช้งานระบบ, ระบบบริหารลูกหนี้เงินยืม<br />1,2</p>

[1] ระเบียบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
พระนครเหนือ ว่าด้วย เงินยืมทดรองจ่าย เงินยืม
ทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2555 และที่แก้ไขเพิ่มเติม,2555.
[2] คู่มือการใช้งานระบบบริหารลูกหนี้เงินยืม,เอกสารประกอบการ
อบรมเชิงปฏิบัติการ “การใช้งานระบบบริหารลูกหนี้เงินยืม”
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2559.
[3] เกียรติคุณ เรืองสุวรรณ, การวิเคราะห์ระบบบริหาร
เงินทดรองราชการ : กรณีศึกษาวิทยาลัยการเมือง
การปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ระหว่างปี
งบประมาณ พ.ศ. 2553 – 2557, วารสารการเมือง
การปกครอง ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจาเดือนพฤษภาคม –
สิงหาคม 2560, 2560.
[4] ถนอม ภาคหาญ, ระบบการจัดการความรู้ด้านการเงิน
เกี่ยวกับเงินยืมราชการและเงินยืมทดรองราชการของสานัก
อัยการสูงสุด, การค้นคว้าอิสระ ปริญญาวิทยาศาสตร
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2557.
[5] เบญญภา สิงห์ทองชัยและคณะ, กลยุทธ์การเพิ่มประสิทธิภาพงาน
ด้วยระบบติดตามเงินยืมทดรองอัตโนมัติ, งานวิจัย มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์, 2551.
[6] ธนกร เปี่ยมสินธุ์, การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการ
จัดการงานสารบรรณของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
นเรศวร, วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2551.

Full Text: PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา จัดพิมพ์ปีละ 2 ฉบับ ระหว่างเดือนมกราคม - มิถุนายน และเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม ทุกปี

ดำเนินการโดย
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีทางอาชีวศึกษา สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
สนับสนุนการดำเนินการโดย
สมาคมศิษย์เก่าครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

http://vetrc.stri.kmutnb.ac.th 

ประเภทของบทความ
ขอบเขตการรับบทความลงพิมพ์ในสาขาอุตสาหกรรม พณิชยกรรม บริหารธุรกิจ เกษตรกรรมและประมง ศิลปหัตถกรรม คหกรรม
อุตสาหกรรมท่องเที่ยว เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทางการศึกษา อุตสาหกรรมศึกษา  เทคโนโลยีอุตสาหกรรม
การจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยี

การเตรียมบทความ

ดาวน์โหลดตัวอย่างการเตรียมบทความได้ที่นี่  http://vetrc.stri.kmutnb.ac.th/2018/JVTE2561.docx

 

วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา (ISSN 2229-1806)
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีทางอาชีวศึกษา
สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ได้รับการจัดอยู่ในวารสารฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 2 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/Evaluation/NewJ/2561/News.html
ตามผลการพิจารณาคุณภาพวารสารที่ต้องการเข้าสู่ฐานข้อมูล TCI ประจำปี พ.ศ. 2561 (25 พ.ค.2561)
วารสารกลุ่มที่ 2 : วารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพของ TCI (จนถึง 31 ธันวาคม 2562) และอยู่ในฐานข้อมูล TCI