สภาพปัญหาในการปฏิบัติงานระบบงบประมาณ พัสดุ การเงิน และบัญชีกองทุน โดยเกณฑ์พึงรับ-พึงจ่าย ลักษณะ 3 มิติ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง Problem status in the operation of Budgets, Parcel, Fina
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติงานและปัญหาในการปฏิบัติงานระบบงานประมาณ พัสดุ การเงิน และบัญชีกองทุนโดยเกณฑ์พึงรับ-พึงจ่าย ลักษณะ 3 มิติ และเพื่อศึกษาความแตกต่างของระดับปัญหาในการปฏิบัติงานในระบบงบประมาณ พัสดุ การเงิน และบัญชีกองทุน โดยเกณฑ์พึงรับ-พึงจ่าย ลักษณะ 3 มิติ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในระบบ 3 มิติ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และสถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จานวน 182 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างด้วยค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในระบบ 3 มิติ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 30 ขึ้นไป – 40 ปี มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี และมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานระบบ 3 มิติ มากกว่า 7 ปี สาหรับผลการวิเคราะห์สภาพการปฏิบัติงานในระบบงบประมาณ พัสดุการเงิน และบัญชีกองทุน โดยเกณฑ์พึงรับ-พึงจ่าย ลักษณะ 3 มิติ พบว่า เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในระบบ 3 มิติ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง รับรู้สภาพการปฏิบัติงานด้านบุคลากร ด้านระบบงาน (ระบบ 3 มิติ) และด้านบริหารจัดการ ส่วนใหญ่รับรู้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ยกเว้นด้านเครื่องมือและอุปกรณ์การรับรู้ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ในส่วนของสภาพปัญหาในการปฏิบัติงานระบบงบประมาณ พัสดุ การเงิน และบัญชีกองทุน โดยเกณฑ์พึงรับ-พึงจ่าย ลักษณะ 3 มิติ พบว่า เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในระบบ 3 มิติ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มีปัญหาในการปฏิบัติงานระบบ 3 มิติ อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านระบบงาน (ระบบ 3 มิติ) (
= 3.77) ด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ (
= 3.71) ด้านบริหารจัดการ (
= 3.69) และด้านบุคลากร (
= 3.57) สาหรับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มีปัญหาในการปฏิบัติงานระบบ 3 มิติ อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านระบบงาน(ระบบ 3 มิติ) (
= 3.66) และด้านบริหารจัดการ (
= 3.54) ส่วนด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ (
= 3.41) และด้านบุคลากร (
= 3.37) อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของสภาพปัญหาในการปฏิบัติงาน พัสดุ การเงิน และบัญชีกองทุน โดยเกณฑ์พึงรับ-พึงจ่าย ลักษณะ 3 มิติ ของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในระบบ 3 มิติ มีสภาพปัญหาในการปฏิบัติงานระบบงบประมาณ พัสดุ การเงิน และบัญชีกองทุน โดยเกณฑ์พึงรับ-พึงจ่าย ลักษณะ 3 มิติ ได้แก่ ด้านบุคลากร ด้านระบบงาน (ระบบ 3 มิติ) และด้านบริหารจัดการ ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ 0.5
Keywords
[1] สานักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย. (2544). ต้นแบบระบบ
งบประมาณ พัสดุ การเงิน และบัญชีกองทุน โดยเกณฑ์พึง
รับ-พึงจ่าย ลักษณะ 3 มิติ สาหรับผู้ปฏิบัติงานใน
มหาวิทยาลัย/สถาบันรัฐ เล่มที่ 1. สานักนโยบาย และแผนการอุดมศึกษา ส่วนวิเคราะห์งบประมาณ, กรุงเทพมหานคร : สานักงาน.
[2] วิไลลักษณ์ จิ้วเส็ง. (2555). ปัญหาและอุปสรรคการนา
ระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์
GFMIS มาใช้ : กรณีศึกษากรมประมง. วิทยานิพนธ์
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
ธัญบุรี.
[3] สุจิตรา กระฐินทอง. (2553). ปัญหาและอุปสรรค การใช้งานระบบงบประมาณ พัสดุ การเงิน และบัญชี ตามเกณฑ์พึงรับ-พึงจ่าย ลักษณะ 3 มิติ ของหน่วยงานในมหาวิทยาลัยรามคาแหง. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยรามคาแหง กรุงเทพฯ.
[4] เวียง ภู่เทศ. (2555). ปัญหา อุปสรรคและวิธีการจัดการที่
เหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพต่อกระบวนการในการ
บันทึกบัญชี โดยเกณฑ์พึงรับ-พึงจ่าย ลักษณะ 3 มิติ ผ่าน
ระบบบัญชี 3 มิติ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วิทยานิพนธ์
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.
[5] ชุติวรรณ ประดับธนกิจ. (2549). สภาพ ปัญหาและความ
ต้องการจัดหาพัสดุภาครัฐ โดยวิธีประมูลด้วยระบบ
อิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction). วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์
อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
พระนครเหนือ.
[6] มรกต ทันตานนท์. (2550). สภาพและปัญหาการใช้งาน
โปรแกรมพึงรับ-จ่าย ระบบสามมิติ ของมหาวิทยาลัย
อุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
[7] ศิริรัตน์ ธะนันต์. (2553). ปัญหาและอุปสรรคในการ
ปฏิบัติงานระบบบัญชี 3 มิติ ในมหาวิทยาลัยแม่โจ้.
รายงานการศึกษาอิสระ มหาวิทยาลัยรามคาแหง กรุงเทพฯ.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา จัดพิมพ์ปีละ 2 ฉบับ ระหว่างเดือนมกราคม - มิถุนายน และเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม ทุกปี
ดำเนินการโดย
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีทางอาชีวศึกษา สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
สนับสนุนการดำเนินการโดย
สมาคมศิษย์เก่าครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
http://vetrc.stri.kmutnb.ac.th
ประเภทของบทความ
ขอบเขตการรับบทความลงพิมพ์ในสาขาอุตสาหกรรม พณิชยกรรม บริหารธุรกิจ เกษตรกรรมและประมง ศิลปหัตถกรรม คหกรรม
อุตสาหกรรมท่องเที่ยว เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทางการศึกษา อุตสาหกรรมศึกษา เทคโนโลยีอุตสาหกรรม
การจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยี
การเตรียมบทความ
ดาวน์โหลดตัวอย่างการเตรียมบทความได้ที่นี่ http://vetrc.stri.kmutnb.ac.th/2018/JVTE2561.docx
วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา (ISSN 2229-1806)
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีทางอาชีวศึกษา
สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ได้รับการจัดอยู่ในวารสารฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 2 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/Evaluation/NewJ/2561/News.html
ตามผลการพิจารณาคุณภาพวารสารที่ต้องการเข้าสู่ฐานข้อมูล TCI ประจำปี พ.ศ. 2561 (25 พ.ค.2561)
วารสารกลุ่มที่ 2 : วารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพของ TCI (จนถึง 31 ธันวาคม 2562) และอยู่ในฐานข้อมูล TCI