การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนผ่านระบบการจัดการมูค ร่วมกับเครื่องมือเสริมศักยภาพการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ รายวิชาการถ่ายภาพโฆษณา Development of Instructional Model via MOOC Management System with Potential Learning Tools to Enhance
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนผ่านระบบการจัดการมูคร่วมกับเครื่องมือเสริม
ศักยภาพการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ รายวิชาการถ่ายภาพโฆษณา สาหรับนักศึกษาปริญญาตรี
2) ตรวจสอบความตรงของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น
รูปแบบการวิจัยในครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงพัฒนา แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ คือ 1) ระยะการพัฒนารูปแบบ 2) ระยะ
การตรวจสอบความตรงของรูปแบบ 3) ระยะการใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2560 หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารมวลชน ที่ได้จากวิธีการสุ่มอย่างง่าย
ด้วยการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สุ่มตัวเลขรหัสประจาตัวนักศึกษา จานวน 40 คน ระยะเวลาในการทดลอง 6 สัปดาห์
วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) ผลการศึกษ าดังนี้ 1) รูปแบบการเรียนการ
สอนที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1. วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 2. เนื้อหา 3. บทบาทผู้สอน 4. บทบาทผู้ช่วย
สอน 5. บทบาทผู้เรียน ทั้งนี้เครื่องมือเสริมศักยภาพการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น 3 เครื่องมือ คือ 1. ฐานช่วยเหลือ 2. ตัวแบบการ
เรียนรู้ 3. การชี้แนะ และขั้นตอนการเรียนรู้ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1. การนาเข้าสู่บทเรียน 2. การสอนเนื้อหา
3. การฝึกแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ และ 4. การสะท้อนและสรุปการเรียนรู้ 2) ผลการศึกษาความตรงของรูปแบบ
การเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นที่ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนมีความตรงเป็นที่ยอมรับจาก
ผู้เชี่ยวชาญ (IOC = 0.95) 3) จากผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน พบว่า คะแนนการทดสอบหลังเรียนของผู้เรียน
มีระดับคะแนนที่สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์
ของผู้เรียนที่เรียนด้วย รูปแบบการเรียนการสอนมีพัฒนาการที่สูงขึ้นทุกสัปดาห์ และผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบ
การเรียนการสอน อยู่ในระดับมาก ( = 4.13, S.D = 0.79) แสดงให้เห็นว่ารูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น
สามารถนาไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบการจัดการมูคร่วมกับการใช้เครื่องมือเสริมศักยภาพ
การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ในการถ่ายภาพโฆษณาได้
Keywords
[1]
กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา, 2559, พิมพ์เขียว Thailand 4.0 : โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน, กรุงเทพฯ.
[2]
โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย, 2559, คู่มือ การพัฒนารายวิชา Thai MOOC, สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, หน้า 2, 11.
[3]
จุลมณี สุระโยธิน, ชนินทร์ ฐิติเพชรกุล, ธิดา แซ่ชั้น, นิพนธ์ บริเวธานันท์, ภัคนันท์ ภัทรนาวิก, ปางลีลา บูรพาพิชิตภัย และสิริกัญญา มณีนิล, 2557, เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลเพื่อการวิจัย, นวัตกรรมการเรียนรู้ทักษะเทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21, 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557, หน้า 1.
[4]
วิภา เจริญภัณฑารักษ์, 2558, “MOOC: การศึกษาฟรีแบบเปิดในยุคดิจิทัล”, วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. , ปีที่ 8, ฉบับที่ 2, หน้า 4-5, 13-14.
[5]
The Partnership for 21st Century Skills, 2009, P21 Framework Definitions, [Online],
Available: https://goo.gl/9oF87a [2017, April 15].
[6]
เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช, ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์, วุฒิชัย เนียมเทศ และณัฐวิทย์ พจนตันติ, 2559, ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: ความท้าทายใน การพัฒนานักศึกษา, [Online], Available: https://goo.gl/wsPKes [15 เมษายน 2560].
[7]
สิทธิชัย ชมพูพาทย์, 2554, การพัฒนาพฤติกรรมการเรียนการสอนเพื่อการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของครูและนักเรียนในโรงเรียนส่งเสริมนักเรียน ที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ การวิจัยปฏิบัติการเชิงวิพากษ์, วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยศรี นครินทรวิโรฒ, หน้า 6-7.
[8]
กรมวิชาการ, 2541, เอกสารเสริมความรู้คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา อันดับที่ 9 เรื่อง การแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์, พิมพ์ครั้งที่ 1, โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, กรุงเทพฯ, หน้า 8-9.
[9]
ธนรัตน์ แต้วัฒนา, สมยศ เจตน์เจริญรักษ์ และ ธีรพงษ์ วิริยานนท์, 2555, “ทฤษฎีการช่วยเสริมศักยภาพการเรียนรู้สาหรับการสนับสนุนผู้เรียน ในการเรียนรู้ออนไลน์”, วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา, ปีที่ 6, ฉบับที่ 1, หน้า 4-5, 6, 7.
[10]
สริตา บัวเขียว, 2559, “Scaffolding...ช่วยเสริม สร้างการพัฒนาการเรียนรู้อย่างไร”, วารสารมนุษย์สังคมปริทัศน์, ปีที่ 18, ฉบับที่ 1, หน้า 10-11.
[11]
เอกชัย รักประยูร, 2556, การสร้างสื่อมัลติมีเดีย โดยใช้กระบวนการสอนแบบซินเนคติกส์ (Synectics) ผ่านเครื่องช่ายสังคม เรื่อง การถ่ายภาพเพื่อการโฆษณา สาหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี, วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและ
เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, หน้า 32.
[12]
ณัฐกร สงคราม, 2557, การถ่ายภาพ : เทคนิคและการนาไปใช้เพื่อการสื่อสาร, พิมพ์ครั้งที่ 1, สานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ, หน้า คานา, 15, 151.
[13]
Rita, C.R. and Jame, D.K., 2007, Design and Development Research: Methods, Strategies and Issues Mahwah, Lawrence Erlbaum Associates, Publishers, Mahwah, pp. 67-72.
[14]
Krejcie, R.V. and Morgan, D.W., 1970, “Determining Sample Size for Research Activities”, Educational and Psychological Measurement, Vol. 30, pp. 607-610.
[15]
จารุมน หนูคง และ ณมน จีรังสุวรรณ, 2558, “การออกแบบรูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานร่วมกับการสอนแบบ MOOC เพื่อพัฒนาทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี สาหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต”, วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, ปีที่ 6, ฉบับที่ 1, หน้า 105.
[16]
25. วีรยุทธ มั่นกลาง, 2557, ผลของสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายที่พัฒนาตามแนวคอนสตรัคติวิสต์เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง คอมพิวเตอร์เบื้องต้น สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลบ้านสามเหลี่ยม สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น, วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, หน้า 30, 32.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา จัดพิมพ์ปีละ 2 ฉบับ ระหว่างเดือนมกราคม - มิถุนายน และเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม ทุกปี
ดำเนินการโดย
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีทางอาชีวศึกษา สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
สนับสนุนการดำเนินการโดย
สมาคมศิษย์เก่าครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
http://vetrc.stri.kmutnb.ac.th
ประเภทของบทความ
ขอบเขตการรับบทความลงพิมพ์ในสาขาอุตสาหกรรม พณิชยกรรม บริหารธุรกิจ เกษตรกรรมและประมง ศิลปหัตถกรรม คหกรรม
อุตสาหกรรมท่องเที่ยว เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทางการศึกษา อุตสาหกรรมศึกษา เทคโนโลยีอุตสาหกรรม
การจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยี
การเตรียมบทความ
ดาวน์โหลดตัวอย่างการเตรียมบทความได้ที่นี่ http://vetrc.stri.kmutnb.ac.th/2018/JVTE2561.docx
วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา (ISSN 2229-1806)
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีทางอาชีวศึกษา
สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ได้รับการจัดอยู่ในวารสารฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 2 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/Evaluation/NewJ/2561/News.html
ตามผลการพิจารณาคุณภาพวารสารที่ต้องการเข้าสู่ฐานข้อมูล TCI ประจำปี พ.ศ. 2561 (25 พ.ค.2561)
วารสารกลุ่มที่ 2 : วารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพของ TCI (จนถึง 31 ธันวาคม 2562) และอยู่ในฐานข้อมูล TCI